ไขปัญหาข้องใจ ก่อนลงสนาม เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 เลือกตั้งผู้ว่ากทมล่วงหน้าวันไหน สามารถทำ ได้ไหม เริ่มวันที่เท่าไหร่ ได้ถึงวันไหน แจ้งไม่ไป เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ลงทะเบียนออนไลน์ ทำอย่างไรบ้าง มีคำตอบพร้อมเช็กได้เลย เตรียมนับถอยหลัง เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 ในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. เลือกตั้งผู้ว่ากทมล่วงหน้าวันไหน สามารถ ทำได้ไหม ผ่านช่องทางออนไลน์ ใครไม่สะดวก ติดธุระด่วน ต้องแจ้งล่วงหน้า เช็กขั้นตอนต่าง ๆ ได้เลย
สำหรับการเลือกตั้งผู้ว่ากทม ปี 2565 ที่กำลังจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค. 65
จะไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า หรือชดเชยแต่อย่างใด สำหรับใครที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้จะต้อง แจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้ง ช่วงก่อนวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 7 วัน ตั้งแต่ วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2565 ถึง วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2565 และช่วงหลังวันเลือกตั้ง ระหว่างวันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565 ถึง วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2565 ผ่านช่องทาง เว็บไซต์ >> สำนักบริหารการทะเบียน <<
ก่อนจะไปแจ้งเหตุ ไม่ไปเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ประจำปี 2565 เราจะต้องเช็กก่อนว่า เป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งของการเลือกตั้งแต่ละประเภทการเลือกตั้งหรือไม่ จากนั้นให้ระบุสาเหตุและระยะเวลาที่กำหนด ก่อนการเลือกตั้ง 7 วัน (ระหว่างวันที่ 15 – 21 พ.ค.65) หรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง (ระหว่างวันที่ 23 – 29 พ.ค. 65)
สำหรับผู้ที่ไม่สะดวก ไปเลือกตั้งผู้ว่ากทม จะต้องทำการแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งก็คือผู้อำนวยการเขต ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยต้องทำเป็นหนังสือ ระบุเลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน โดยสามารถแจ้งได้ด้วยตนเอง หรือหากไม่สะดวกก็สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทนได้ หรือส่งเอกสารผ่านไปรษณีย์ ภายใน 7 วัน ก่อนการเลือกตั้ง วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2565 ถึง วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2565 หรือภายใน 7 วันหลังการเลือกตั้ง วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565 ถึง วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2565
กระทรวงพาณิชย์ ทำการเปิดตัวโครงการ พาณิชย์ลดราคา!ช่วยประชาชน Lot 17 Back to School – ลดราคาชุดนักเรียน 7 ยี่ห้อ สูงสุด 65%
ลดราคาชุดนักเรียน – (9 พ.ค. 2565) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน นายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และผู้แทนห้างสรรพสินค้า ผู้ผลิตเครื่องแบบนักเรียนและรองเท้านักเรียนร่วมด้วย แถลงข่าวจัดโครงการ “พาณิชย์ลดราคา!ช่วยประชาชน Lot 17 Back to School “ ที่ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาสะพานควาย กรุงเทพมหานคร
‘ประกันสังคม’ ลดเงินสมทบ ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 นาน 3 เดือน จ่ายเท่าไหร่ เช็กที่นี่
อัปเดต ล่าสุด “ประกันสังคม” ลดเงินสมทบ ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 จ่ายเท่าไหร่ เคาะมาแล้ว ประกาศมาตรการ รลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของ ผู้ประกันตน มาตรา 33 เหลือ 1% ผู้ประกันตน มาตรา 39 เหลือเพียง 91 บาทต่อเดือน และสำหรับผู้ประกันตน มาตรา 40 มีการขยายระยะเวลาลดเงินสมทบเป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่ ก.พ. – ก.ค. 2565
วันนี้ 9 พฤษภาคม 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า อีกมาตรการที่เริ่มมีผลบังคับตั้งแต่เดือน พ.ค.- ก.ค.เช่นกัน คือการ ลดเงินสมทบ เข้ากองทุน ประกันสังคม ของ ผู้ประกันตน มาตรา 33 ซึ่งมีอยู่ประมาณ 11.2 ล้านคน ได้ปรับลดทั้งส่วนเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนจากเดิมร้อยละ 5 เหลือฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้าง ในส่วนของ ผู้ประกันตน มาตรา 39 ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1.9 ล้านคน ปรับลดอัตราเงินสมทบจาก 432 บาทต่อเดือน ก็ลดลงเหลือ จ่ายเพียง 91 บาทต่อเดือน
สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 40 ซึ่งมีอยู่ 10.7 ล้านคน ได้มีการขยายระยะเวลาลดเงินสมทบเป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่ ก.พ. – ก.ค. 2565 ซึ่งเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาก็ได้เผยแพร่อัตราเงินสมทบในส่วนของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้อัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนกับรัฐบาลลดลง ใน 3 ทางเลือก แยกเป็น
1) ผู้ประกันตนที่เดิมจ่ายเงินสมทบอัตรา 70 บาทต่อเดือน ลดลงเป็น 42 บาทต่อเดือน รัฐบาลลดเงินสมทบจาก 30 บาท เหลือจ่าย 21 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย
2) ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบในอัตรา 100 บาทต่อเดือน ลดลงเป็น 60 บาทต่อเดือน รัฐบาลลดเงินสมทบจากเดือนละ 50 บาท เหลือจ่าย 30 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ
3) ผู้ประกันตนที่อัตราเดิมจ่ายสมทบ 300 บาทต่อเดือน ลดลงเป็น 180 บาทต่อเดือน รัฐบาลลดงเงินสมทบจาก 150 บาท เหลือ 90 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป